กลยุทธ์การซื้อขายและกลยุทธ์การประยุกต์
ช่วงที่ห้าสิบห้าของการอบรมฟอเร็กซ์
ยินดีต้อนรับกลับสู่การอบรมฟอเร็กซ์อย่างมืออาชีพในตลาดการเงิน สำหรับส่วนนี้เราจะพูดถึงกลยุทธ์การซื้อขายและกลยุทธ์การประยุกต์โดยละเอียด
กลยุทธ์
พฤติกรรมของการซื้อขายขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์พื้นฐานและการวิเคราะห์เชิงเทคนิค ตลอดจนรูปแบบต่างๆ แท่งเทียน และเส้นสถานการณ์บางอย่าง
การเรียนรู้และการฝึกใช้เครื่องมือเชิงเทคนิคแต่ละอย่าง ดังที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ พร้อมกับการศึกษาวิธีใช้งานและขั้นตอน คือสิ่งจำเป็นในการสร้างกลยุทธ์
หลังจากการเรียนรู้และการศึกษาเครื่องมือทั้งหมดแล้ว ผู้เทรดสามารถสร้างกลยุทธ์อย่างง่าย ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาต่อได้ ผู้เทรดสามารถปรับกลยุทธ์อย่างง่ายหรือใช้กลยุทธ์ที่พัฒนาแล้ว ซึ่งสามารถหาได้จากอินเทอร์เน็ต และปรับแต่งเพื่อความสะดวกในการใช้งาน
ประเภทของกลยุทธ์
สามารถจำแนกกลยุทธ์ออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
- กลยุทธ์แนวโน้ม :กลยุทธ์ประเภทนี้สามารถใช้บนแนวโน้มของตลาดได้ ดังนั้นผู้เทรดควรใช้ Oscillator เช่น CCI ตลอดจนรูปแบบทะลุผ่านเพื่อพัฒนากลยุทธ์แนวโน้ม
- กลยุทธ์ซื้อถูกขายแพง :ส่วนมากจะใช้ในช่วงที่ราคาตลาดมีความผันผวนในการตีกรอบแนวนอน
- กลยุทธ์การกลับตัว :กลยุทธ์เหล่านี้สามารถเกิดขึ้นเมื่อมีจุดกลับตัวและจุดสำคัญ ผู้เทรดที่ต้องการหาจุดกลับตัวเมื่อสิ้นสุดแนวโน้มจะวางคำสั่งขายเมื่อสิ้นสุดแนวโน้มขาขึ้นหรือวางคำสั่งซื้อเมื่อสิ้นสุดแนวโน้มขาลง
การประยุกต์กลยุทธ์
ผู้เทรดสามารถประยุกต์หรือสร้างกลยุทธ์ธรรมดาหรือกลยุทธ์ที่ได้รับการพัฒนาแล้ว โดยอ้างอิงตามพฤติกรรมการซื้อขายของผู้เทรด เพื่อทำให้วิธีการซื้อขายมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หากผู้เทรดต้องการซื้อขายด้วยกลยุทธ์ที่ได้รับการพัฒนาแล้วซึ่งออกแบบโดยผู้เทรดคนอื่น ผู้เทรดจะต้องทำตามพฤติกรรมการซื้อขายและวิธีการของผู้พัฒนา ไม่เช่นนั้นผู้เทรดต้องปรับกลยุทธ์นั้นด้วยตัวเอง ยกตัวอย่างเช่น ผู้เทรดชอบที่ใช้รูปแบบ Stochastic ขณะที่ผู้อื่นอาจใช้ RSI เพื่อหาจุดกลับตัวของแนวโน้ม หรือกล่าวได้ว่ามีกลยุทธ์บางอย่างที่ผู้เทรดไม่สามารถหามาทดแทนได้
การทดสอบกลยุทธ์
ผู้เทรดสามารถตรวจสอบกลยุทธ์ได้บนบัญชีทดลอง โดยการวางหลายๆ คำสั่ง กลยุทธ์อาจมีเงื่อนไขมากมายซึ่งสร้างการยืนยันและสัญญาณที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นผู้เทรดสามารถวางคำสั่งตามสัญญาณจากกลยุทธ์ซึ่งจะสร้างสัญญาณพร้อมด้วยการยืนยันต่างๆ
ค่าสัมประสิทธิ์ความสำเร็จของกลยุทธ์ใดๆ ควรได้รับการบันทึกเอาไว้หลังจากนำไปใช้งานกับคำสั่งแต่ละครั้ง เช่น อัตราส่วนของความสำเร็จของจำนวนคำสั่งพร้อมด้วยปริมาณการยืนยันที่กำหนด
ผู้เทรดควรใช้แต่ละกลยุทธ์กับ 40 ถึง 60 คำสั่ง เพื่อพิจารณาอัตราส่วนของความสำเร็จและเทียบกับความล้มเหลวทำให้สามารถตัดสินใจได้ว่ากลยุทธ์ที่ใช้งานมีความเหมาะสมหรือไม่ เช่น หลังจากทดสอบกลยุทธ์แล้ว ผู้เทรดจะได้รับอัตราส่วนความสำเร็จของคำสั่ง
อัตราส่วนโดยรวมของความสำเร็จต่อความล้มเหลวเท่ากับ 70%
- กรณีที่ 1 (การยืนยันขั้นต่ำ)= 65%
- กรณีที่ 2 = 72%
- กรณีที่ 3 = 77%
- กรณีที่ 4 (การยืนยันสูงสุด)= 84%
ประสิทธิภาพของกลยุทธ์จะเพิ่มขึ้นเมื่อมีการยืนยันเพิ่มขึ้น
ผู้เทรดสามารถใช้กลยุทธ์บางส่วนควบคู่กันไปเพื่อหาจุดที่มีการยืนยันมากกว่า เพื่อให้มีอัตราความสำเร็จสูงกว่าความล้มเหลว กลยุทธ์เพียงอย่างเดียวอาจให้สัญญาณเพียงไม่กี่อัน ขณะที่การใช้ 2 หรือ 3 กลยุทธ์พร้อมกันจะสร้างสัญญาณเพิ่มขึ้นพร้อมด้วยการยืนยันที่ดีกว่า ผู้เทรดต้องไม่ใช้กลยุทธ์โดยไม่มีตัวชี้วัด Stop Loss เนื่องจากกลยุทธ์อาจสร้างสัญญาณผิดพลาดซึ่งส่งผลให้เกิด “Margin Call”
กลยุทธ์เหล่านั้นที่มีราคา Stop Loss ยาวกว่า Take Profit อาจไม่สามารถทำกำไรได้ เนื่องจากทุกๆ SL จะเท่ากับราคา TP5 หรือ 6 แม้แต่กลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพ 90% ก็ไม่สามารถทำกำไรได้หากราคา SL นั้นสูงกว่าราคา TP
ผู้เทรดต้องไม่วางคำสั่งโดยไม่มีกลยุทธ์หรือสัญญาณและการยืนยันจากกลยุทธ์ที่ใช้งาน ผู้เทรดที่ไม่วางคำสั่งบนจุดที่ได้รับการยืนยันโดยกลยุทธ์จะสูญเสียเงินทุนในที่สุด
องค์ประกอบของกลยุทธ์
แต่ละกลยุทธ์จะมีองค์ประกอบดังนี้
- ราคาเข้าที่เหมาะสม
- ราคา Take Profit
- ราคา Stop Loss
- กรณีปิดคำสั่งในสถานการณ์พิเศษ บางครั้งผู้เทรดต้องปิดคำสั่ง ซึ่งเคลื่อนที่เข้าหาราคา SL ถึงแม้จะมีการยืนยันก่อนหน้านั้น
- การยืนยันหลายครั้งในจุดหนึ่ง ตลอดจนเงื่อนไขหลายตัวมีประสิทธิภาพแตกต่างกัน
สำหรับส่วนนี้จบลงเพียงเท่านี้ แล้วพบกันใหม่ในการอบรมส่วนอื่นๆ ขอให้โชคดี
Comments